การฝังเพชรมีกี่แบบ? แต่ละแบบมีข้อดี
และข้อควรระวังมีอะไรบ้าง
เคยเป็นไหมคะ เวลาที่เราไปสั่งทำแหวนเพชรแล้วอธิบายร้านไม่ถูก ว่าอยากใฟ้ฝังแบบไหน หรือบางแบบเราอยาอให้ฝังแบบนี้
แต่ร้านบอกว่าดีกว่าเพราะอะไร วันที่ The Nine Diamonds จะมาบอกข้อดี ข้อเสียของแต่ละแบบ พร้อมยกตัวอย่างแบบ
ที่เป็นที่นิยมมาให้ดูกันค่ะ
1. ฝังหนามเตย (Prong Setting)
การฝังแบบหนามเตยเป็นที่นิยมมากที่สุด ลักษณะเป็นก้านยึดเกาะเพชรให้ติดกับตัวเรือน เช่น ฝังหนามเตย 4 เตย หรือ 6 เตย
ข้อดี : แสงลอดผ่านเพชรได้ง่าย ทำให้เพชรสามารถเล่นไฟได้ดีขึ้น นอกจากนี้หัวเตยยังสามารถออกแบบได้อีก เช่น เตยหัวใจ
หรือเตยลูกศร เป็นต้น
ข้อควรระวัง : หากฝังหนามเตยไม่แน่น อาจทำให้หนามเตยเกี่ยวกับเสื้อผ้า ผมได้ง่าย ดังนั้นควรให้ช่างฝังหนามเตยให้แน่น
หากต้องการใส่ในชีวิตประจำวัน ไม่ควรชูให้เพชรสูงมากเกินไป เพราะโอกาสที่เพชรจะโดนกระแทก จะมีมากกว่าแบบอื่น
ซึ่งหากใส่ไปนาน ๆ ตัวหนามเตยอาจหลวมได้ ฉะนั้นควรกลับมาให้ทางร้านเช็คหนามเตยทุก ๆ 1 ปี
2. ฝังไร้หนาม (Invisible Setting)
การฝังแบบไร้หนาม มักใช้กับเพชรที่มีรูปร่างทรงเหลี่ยม โดยตัวเรือนจะมีลักษณะเหมือนตาข่ายไว้รองรับเพชรแต่ละเม็ด
และมีโลหะคล้ายใบมีดเป็นตัวล็อคเพชรไว้ ลักษณะการฝังจึงดูเหมือนตารางและไม่เห็นโลหะที่กั้นขอบเพชร
ข้อดี : สามารถดีไซน์เครื่องประดับได้หลากหลายมากขึ้น และเสริมให้หน้าเพชรนั้น ๆ ดูใหญ่ขึ้น
ข้อควรระวัง : การฝังแบบไร้หนามต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญ จึงส่งผลให้ค่าแรงในการประกอบมีราคาสูง
การฝังชนิดนี้หากได้รับแรงกระแทกอย่างแรง เพชรอาจจะหลุดหายได้
3. ฝังล้อ (Halo Setting)
การฝังเพชรล้อม คือ การนำเพชรเม็ดเล็กมาฝังล้อมรอบเพชรเม็ดใหญ่ เพื่อให้เพชรเม็ดกลางดูใหญ่ขึ้นกว่าน้ำหนักจริง
แถมยังมีเรื่องความเชื่อในเรื่องของการเสริมบริวารอีกด้วย
ข้อดี : ช่วยยึดเกาะเพชรเม็ดกลางให้มั่นคง และทำให้เพชรเม็ดกลางมีขนาดใหญ่ขึ้น
ข้อควรระวัง : เพชรที่ล้อมนั้นหากฝังไม่ไดี อาจมีการหลุดหล่นหายได้
4. ฝังจิกไข่ปลา (Pave’ Setting)
การฝังจิกไข่ปลา คือ การนำทองมาทำเป็นเม็ดกลม ๆ ก้อนเล็ก ๆ คล้ายกับไขปลามายึดเพชรไว้กับตัวเรือน
ข้อดี : การฝังจิกไข่ปลา ทำให้เพชรนั้นดูระยิบระยับเป็นประกายมากขึ้น เหมาะกับการสวมใส่ในชีวิตประจำวัน
เพราะการฝังแบบนี้ค่อนข้างแข็งเป็นพิเศษ
ข้อควรระวัง : หากมีการปรับไซส์ มีโอกาสที่เพชรนั้นจะดีดหลุด เนื่องจากเป็นการฝังที่มีความแน่น
5. ฝังเหยีบหน้า หรือ ฝังจม (Swiss / Gypsy Setting)
การฝังแบบเหยียบหน้า เป้นการฝังเพชรลงไปบนตัวเรือน เพชรจะมีลักษณะเรียบไปกับตัวเรือน ป้องกันการหลุดของเพชร
ได้เป็นอย่างดี
ข้อดี : เมหาะกับผู้ที่ใส่แหวนแบบติดมือ และทำกิจกรรมตลอดเวลา และเหมาะกับคุณสุภาพบุรุษ เพราะไม่เกะกะเวลาสวมใส่
ข้อควรระวัง : เนื่องจากการฝังแบบนี้ ทำให้แสงไม่สามารถลอดผ่านเพชรได้ ซึ่งจะไม่เห็นการเล่นไฟของเพชร
6. ฝังหนีบ (Tension Setting)
การฝังหนีบ เพชรจะอยู่ตรงกลาง จะมีร่องเล็ก ๆ อาศัยแรงดันจากตัวเรือนทั้งสองด้านยึดขอบเพชรไว้ หน้าเพชรจะเรียบเสมอตัวเรือน
ข้อดี : สามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้สะดวก เพราะมีความแข็งแรง อีกทั้งยังเป็นการฝังที่มีเอกลักษณ์ และทันสมัย
ข้อวรระวัง : เพชรอาจหลุดหายจากการกระแทกที่รุนแรง ปรับไซส์ได้ค่อนข้างยาก หากเพชรที่นำมาขึ้นตัวเรือนมีตำหนิจะเห็นได้ชัด
ที่สำคัญต้องใช้ช่างที่มีฝีมือ และประสบการณ์ชำนาญในการฝัง
7.ฝังหุ้ม (Bezel Setting)
การฝังเพชรแบบหุ้ม จะปกป้องเพชรจากแรงกระแทกได้ดี เพราะตัวเรือนจะหุ้มรอบเพชร
ข้อดี : ไม่เกี่ยวติดเสื้อผ้า หรือผม เป็นวิะีการฝังเพชรที่แข็งแรง เหมาะกับผู้ที่ต้องเน้นความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
ข้อควรระวัง : เพชรมีขนาดเล็กกว่าน้ำหนักจริง และเพชรไม่ค่อยโดดเด่นหรือเล่นไฟ เนื่องจากเพราะถูกการฝังบดบังตัวเพชร
8. ฝังแบบล็อด/สอด (Channel Setting)
การฝังแบบสอดนี้ เป็นการฝังที่นำเพชรมาเรียงกันเป็นแถวโดยไม่มีอะไรมาขวางระหว่างเพชรแต่ละเม็ด เหมาะกับผู้ที่อยากสวมใส่ตลอดวัน
ข้อดี : เพชรเล่นไฟได้ดี นิยมใช้ในงานแต่งงาน หรือเป็นแหวนหมั้น/แหวนแต่งงาน
ข้อควรระวัง : อาจมีฝุ่นผงฝังตัวอยู่ตามซอกเพชรได้ง่าย จึงทำความสะอาดได้ค่อนข้างยาก